นับเป็นคำถามยอดฮิตที่หลายคนสงสัยกันของ “ฉนวนกันความร้อน” ระหว่าง PE โฟม และ PU โฟม และจากการสำรวจพบว่า ประมาณ 90% ของปัญหาที่พบ เกิดจากการเลือกติดตั้งฉนวนที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้ผู้ที่กำลังคิดจะติดตั้งหลังคาบ้านให้สามารถเลือกฉนวนได้เหมาะสม หรือบ้านไหนเจอปัญหาแล้วสามารถแก้ไขได้ถูกทาง

Table of Contents
ความแตกต่างของฉนวนกันความร้อน
ในปัจจุบันฉนวนที่สามารถกันความร้อนมีให้เลือกมากกว่า 3 ชนิด แต่ถ้าหากเจาะลึกโดยส่วนมากแล้วนิยมใช้ฉนวนเพียง 2 ชนิดเท่านั้น นั่นก็คือแบบ PU โฟม และ PE โฟม ฉนวนทั้งสองชนิดนี้อาจจะทำให้เจ้าของบ้านมือใหม่หลาย ๆ คนอาจจะเรียกผิดเรียกถูกและอาจส่งผลไปถึงการสั่งซื้อที่ผิดพลาด แอดจึงจะมาแนะนำว่าแบบไหนควรเลือกใช้งานแบบไหน
1.ฉนวนกันความร้อน PE โฟม
PE โฟม หรือที่เรียกกันว่าฉนวนกัน ความร้อนโพลีเอทิลีน คือฉนวนแบบแผ่น ผลิตจากโพลีเอทิลีนซึ่งเป็นโพลิเมอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา โครงสร้างฉนวนแข็งแรง เหนียว และทนทานต่อแรงกระแทก ซึ่งจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สามารถนำมาใช้เป็นฉนวนใต้แผ่นหลังคาเมทัลชีทได้ ติดตั้งง่ายและมีความยืดหยุ่นสูงจึงเข้ากับลอนหลังคาเมทัลชีทได้พอดี

ข้อดี
- เบาแต่แข็งแรง เนื่องจากฉนวนกัน ความร้อน PE โฟม ผลิตมาจากโพลีเอทิลีนที่เป็นโฟมอ่อนนุ่มนอกจากจะแข็งแรงแล้วยังสามารถสะท้อนความร้อนได้เป็นอย่างดี
- สามารถป้องกันความร้อนและรังสี UV ได้เป็นอย่างดี
- ช่วยลดเสียงตกกระทบ ฉนวน PE โฟม ไม่เพียงป้องกันความร้อนเท่านั้น แต่ยังช่วยลดเสียงเสียงฝนที่ตกกระทบกับแผ่นเมทัลชีทได้อีกด้วย
2.ฉนวนกันความร้อน PU Foam
คือเทคโนโลยีการฉีดฉนวนหรือโฟมกันความร้อนลงบนผิววัสดุที่มีความสามารถในการยึดเกาะสูง โดยสารที่ใช้ฉีดเป็นฉนวนมีชื่อว่า “โพลียูรีเทนโฟม” หรือโฟมกันความร้อนนั่นเองค่ะ ซึ่งจะมีโครงสร้างเนื้อโฟมแบบชนิด SEMI – CLOSED CELLS โดยจะฉีดพ่นลงบริเวณใต้หลังคาหรือบนเเผ่นหลังคา เป็นวัสดุที่ช่วยกันความร้อนได้ถึง 90% และช่วยป้องกันการเเผ่กระจายความร้อนจากหลังคาเข้าสู่ตัวอาคาร ป้องกันการรั่วซึม และช่วยลดเสียงดังจากเสียงฝนที่กระทบกับเเผ่นหลังคาเมทัลชีทให้เบาลงได้เป็นอย่างดี

ข้อดี
- ช่วยป้องกันความร้อนในหน้าร้อน และอากาศเย็นในหน้าหนาว
- มีการดูดซับเสียงที่ดี
- ความต้านทานต่อสารเคมี
- มีน้ำหนักเบา และเเข็งแรง
- ป้องกันการซึมของน้ำ ความชื้น และอากาศ
- ติดตั้งง่าย
- หมดกังวลเรื่องการหลุดร่อนของฝุ่นละออง PU