ปั๊มน้ำ หรือเครื่องปั๊มที่เราชอบเรียกกันติดปากอยู่บ่อย ๆ ซึ่งแอดเชื่อว่าหลายบ้านต้องมีติดบ้านอย่างแน่นอน แต่ที่แอดจะนำมาพูดถึงนั่นก็คือ ประเภทและลักษณะการใช้งานของปั๊ม ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรบ้างนั้นตามแอดไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

Table of Contents
ปั๊มน้ำคืออะไร?
หรือ เครื่องมือที่ช่วยในการส่งน้ำ มี 2 ส่วน คือ หัวปั๊มและมอเตอร์ ซึ่งมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนให้ตัวปั๊มเคลื่อนที่เพื่อผลักน้ำจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งไปโดยแรงดันและปริมาณน้ำ ตามการออกแบบและประเภทที่เลือกใช้งาน
ปั๊มน้ำสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.ใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น
- ปั๊มสำหรับระบบทำความเย็น ใช้ในการส่งน้ำ Water cooling
- ปั๊มสำหรับอุตสาหกรรมเคมี ใช้สำหรับสูบน้ำที่มีปริมาณของเคมีปนอยู่
- ปั๊มสำหรับเครื่องกรองน้ำ ใช้ในการผลักแรงดันน้ำเข้าไปที่ตัว filter หรือตัวกรองเพื่อทำให้น้ำสะอาดขึ้น เรียกว่า ระบบ RO (Reverse Osmosis)
- ปั๊มสำหรับโรงงานผลิตอาหาร
- ปั๊มสำหรับโรงงานผลิตน้ำแข็ง
- ปั๊มสำหรับโรงงานผลิตน้ำตาล
- ปั๊มสำหรับงานชลประทาน ใช้สำหรับส่งน้ำปริมาณมาก ๆ
2.ปั๊มน้ำในกลุ่มที่อยู่อาศัย แบ่งออกเป็น
- ปั๊มสูบน้ำเก็บบนอาคาร (Transfer)
- ปั๊มเสริมแรงดัน (Booster Pump)
- ปั๊มดับเพลิง (Fire Pump) สำหรับอาคาร
- ปั๊มจุ่ม
การเลือกปั๊มน้ำให้มีความเหมาะสม
เริ่มตั้งแต่ช่วงการออกแบบที่พักอาศัยหรืออาคาร ผู้ออกแบบงานระบบน้ำต้องสามารถเลือกปั๊มที่มีความเหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ควรเลือกปั๊มที่ตัวเล็กหรือใหญ่เกินไป เช่น ในบ้านหนึ่งหลัง เป็นที่พักอาศัยของคน 4-5 คน เราควรเลือกปั๊มที่สามารถให้น้ำเพียงพอสำหรับคน 4 -5 คน เราจะไม่เลือกปั๊มที่สำรองการใช้งานสำหรับ 10 คน เพราะมันใหญ่ไป และเราจะไม่เลือกปั๊มที่เล็กสำหรับการใช้งานแค่ 2 คน เพราะมันเล็กไป การเลือกปั๊มแบบนี้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะปั๊มไม่ได้ใหญ่เกินความจำเป็น ช่วงการทำงานของปั๊ม เรียกว่า curve pump จะมีจุดทำงานของปั๊มที่เป็นจุดต่ำที่สุด, มีจุดที่เป็นจุดกลาง และมีจุดที่เป็นจุดสูงสุด เวลาเลือกปั๊ม ควรเลือกจุดที่เป็นจุดกลาง ซึ่งจะเป็นช่วงที่ปั๊มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (Efficiency) แต่ถ้าเราเลือกปั๊มที่อยู่ในช่วงสูงที่สุด มอเตอร์จะมีโอกาสเสียหายเร็วมากเพราะช่วงทำงานหนัก และหากเราเลือกปั๊มที่อยู่ในจุดที่ต่ำที่สุด มอเตอร์จะทำงานเพียงสั้น ๆ สลับกับการหยุดทำงานเป็นพัก ๆ จะโอกาสส่งผลให้มอเตอร์อายุการทำงานสั้นและเสียหายเร็วได้เช่นกัน
ลักษณะของน้ำ ต้องมีความเหมาะสมกับลักษณะของปั๊ม น้ำสะอาดหรือไม่ มีตะกอนตะกรันหรือไม่ เป็นน้ำประปา หรือเป็นน้ำมีเคมีหรือไม่ เมื่อทราบลักษณะของน้ำแล้ว จะสามารถระบุวัสดุของปั๊มที่เหมาะสมได้