มาทำความรู้จักกับตอม่อ

0
344

    เคยสงสัยกันไหมคะว่า “ตอม่อ” คืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร และอยู่ตรงส่วนไหนของตัวบ้าน วันนี้แอดจะพามาไขข้อสงสัยกันค่ะ ว่ามีหน้าที่อะไรอยู่ตรงส่วนไหนของตัวบ้าน

ตอม่อ

ตอม่อคืออะไร?

    คือ เสาที่มีขนาด 50-100 เซนติเมตร โดยปกติแล้วเสาตอม่อจะอยู่ใต้ดิน มีลักษณะตัวฐานเป็นสี่เหลี่ยมมีความหนาประมาณ 20 เซนติเมตร ตัวเสาจะมีความสูงอยู่ที่ 50-100 เซนติเมตร และปัจจุบันที่นิยมใช้กัน คือ คอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งผลิตจากคอนกรีตเสริมเหล็ก มีการรับรองจากสถาบันการก่อสร้างว่าได้มาตรฐาน แถมมีราคาที่ถูก ใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องมาทำเอง เพราะการที่เราทำเองอาจจะไม่ได้ตามมาตรฐาน ใช้เวลานานกว่าจะเซ็ตตัว และอาจจะทำให้บ้านเราพังลงได้ ตอม่อสำเร็จรูปจึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการกระชับเวลา และประหยัดงบประมาณ

หน้าที่ของตอม่อคืออะไร?

    มีหน้าที่รองรับน้ำหนักจากทุกส่วนของตัวบ้าน เช่น หลังคา โครงสร้างหลังคา ผนังบ้าน เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน หรือเสาบ้าน เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่มีตอม่อคอยรองรับน้ำหนักจากตัวบ้าน อาจจะทำให้บ้านทรุดตัวลงไปในดินหรืออาจจะทำให้บ้านทั้งหลังพังลงไปเลยก็ได้ค่ะ และนี่คือหน้าทั้งหมดค่ะ

เหมาะสำหรับโครงสร้างแบบใด?

    เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ต้องรับโครงสร้างน้ำหนักมาก ๆ เพื่อความแข็แรง ทนทาน มักจะใช้ใน บ้านไม้ชั้นเดียว หรือแม้แต่ระเบียง

ภาพตัวอย่าง : บ้านไม้ชั้นเดียว

    เหมาะสำหรับบ้านไม้ชั้นเดียว เพราะบ้านไม้มีขนาดที่ค่อนข้างหนัก และการที่จะปลูกสร้างบ้านได้นั้นต้องฝังเสาเข็มหรือตอม่อไว้ เพื่อเป็นการยึดตัวบ้านไว้ไม่ให้บ้านลาดเอียง หรือเคลื่อนที่ไปที่อื่น เพราะแต่ละสถานที่ และสภาพอากาศในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน บางประเทศมีน้ำท่วม มีแผ่นดินไหว อาจจะทำให้บ้านทรุดตัวลงหรือเคลื่อนที่ได้ จึงต้องฝังเสาลงไปในดินเพื่อยึดตัวบ้านไว้นั่นเองค่ะ

ภาพตัวอย่าง : ระเบียง

    ระเบียงคือพื้นบ้านที่ต่อออกไปจากด้านหน้า หรือด้านข้างของตัวบ้าน เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น จะมีขนาดยาวเท่าพื้นที่ห้องที่ต่อเติมออกมา และมีหลังคาปกคลุม ซึ่งระเบียงมีอยู่หลายแบบ เช่น ระเบียงห้องนอน ระเบียงหน้าบ้าน ระเบียงหลังบ้าน เป็นต้น ซึ่งที่ต้องใช้ตอม่อก็เพื่อรองรับน้ำหนักจากตัวระเบียง เพราะระเบียงถือเป็นส่วนหนึ่งบ้านเหมือนกัน

วิธีหล่อเสาตอม่อ

  • ขั้นแรกเราต้องวางเหล็กเสริมไปพร้อมกับฐานราก และตรวจสอบให้เสาอยู่กึ่งกลางฐานราก ไม่ให้เกิดเยื้องศูนย์
  • ทำแนวตั้งไม้แบบ โดยการขีดเส้นวางจุดเพื่อสะดวกต่อการประกอบไม้แบบหล่อ
  • ติดตั้งแบบหล่อพร้อมเสาค้ำยัน 
  • หาระดับความสูงของเสาโดยเทียบกับระดับ +0.00
  • ทำการเทคอนกรีตเสาให้ได้ตามที่ออกแบบไว้
  • ใช้ไม้กระทุ้งคอนกรีตเพื่อให้อากาศออกจากคอนกรีตให้คอนกรีตมีความแน่น และแข็งแรง
  • ปล่อยให้คอนกรีตแข็งตัว แค่นี้ถือว่าเป็นอันเสร็จแล้วค่ะ

จากบทความข้างต้นของแอดเพื่อน ๆ พอจะเข้าใจกันแล้วใช่ไหมคะ ถ้าเพื่อน ๆ เข้าใจแล้วอย่าลืมคอมเมนต์บอกแอดกันด้วยนะคะ ที่มา เว็บนายช่าง.com