อิฐที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันไม่ต่างจากอิฐพันปีก็คือ “อิฐมวลเบา” ซึ่งในปัจจุบันบ้านเรามักจะใช้อิฐชนิดนี้ในงานก่อสร้าง ซึ่งวันนี้ทางเราเว็บนายช่าง – หนึ่งเดียวเรื่องช่าง ต้องเว็บนายช่าง จะพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับอิฐชนิดนี้อย่างละเอียด ว่าเหมาะกับงานชนิดไหนและมีข้อดีอย่างไรบาง เพื่อที่เพื่อน ๆ จะได้นำไปใช้ให้ถูกวิธีและเหมาะสมกับงาน

อิฐมวลเบาคืออะไร?

คือ อิฐที่ถูกผลิตขึ้นมาจาก ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูง, ทรายบดละเอียด , ปูนขาว, ยิปซั่ม, ผงอะลูมิเนียม และน้ำสะอาด โดยวัตถุดิบทั้งหมดนี้จะถูกผสมเข้าด้วยกันอยู่ในรูปแบบของของเหลว เกิดปฏิกิริยาทางเคมีของส่วนผสมทำให้เกิดฟองอากาศเล็ก ๆ มากมายกระจายตัวกันอย่างสม่ำเสมอในเนื้อของคอนกรีต แต่ไม่เชื่อมต่อกัน ฟองอากาศเหล่านี้ถูกทำให้มีน้ำหนักเบาและเป็นฉนวนกันความร้อนได้เป็นอย่างดี หลังจากที่คอนกรีตเริ่มแข็งตัวจะถูกตัดแบ่งตามขนาดของบล็อกตามที่ต้องการ และนำมาเก็บบ่มไว้ระยะเวลาหนึ่ง จึงจะสามารถนำเข้ามาอบด้วยไอน้ำที่มีอุณหภูมิและแรงดันสูงเป็นเวลานาน ดังนั้นบล็อกจึงเกิดเป็นผลึก Calcium silicate hydrate ที่มีความแข็งแรงสูงพร้อมนำไปใช้งานอย่างที่เราเห็น
ข้อดีของอิฐมวลเบา
- อิฐมวลเบามีความคงทน ต่อสภาพอากาศบ้านเราได้เป็นอย่างดี
- ผนังที่นำมาใช้ก่อสร้างด้วยอิฐชนิดนี้มักจะมีความสวยงาม จึงทำให้อิฐมวลเบาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายสำหรับผู้รับเหมาและช่างในงานก่อสร้าง
- มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนได้ดี จึงช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดภายนอกเข้าสู่ตัวอาคารได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังช่วยลดอุณหภูมิความร้อนภายในตัวอาคารได้อีกด้วย
- เป็นวัสดุก่อสร้างที่ดูดซับเสียงได้ดี ทำให้สามารถช่วยลดความดังของเสียงระหว่างห้องภายในอาคารได้ ช่างหรือผู้รับเหมาส่วนมากจึงชอบนำไปก่อสร้างอาคาร หอพัก หรือคอนโด
- ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง เนื่องจากมีน้ำหนักเบาทำให้สามารถขนย้ายได้สะดวกและรวดเร็ว
- ประหยัดค่าไฟ เนื่องจากอิฐชนิดนี้สามารถกันความร้อนได้ดี จึงทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถประหยัดค่าไฟจากการใช้งานเครื่องปรับอากาศได้มากเลยทีเดียว
ข้อเสียของอิฐมวลเบา
- สามารถนำไปปรับแต่งได้น้อย เนื่องจากอิฐที่มีขนาดใหญ่ หากนำไปประยุกต์ทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่ผนังอาจจะทำได้ยาก
- ปัญหาเรื่องปลวก อาจจะมีปัญหาเรื่องปลวกกินได้ เพราะอิฐชนิดนี้มีส่วนประกอบของยิปซั่ม ซึ่งเป็นอาหารโปรดของปลวกและแมลง
- หากต้องแก้ไขผนังบ้านต้องรื้อออกทั้งหมด เนื่องจากอิฐชนิดนี้ถูกก่อขึ้นมาเป็นแผงถ้าหากต้องการเปลี่ยนหรือซ่อมแซมต้องทำการก่อผนังขึ้นมาใหม่
- ด้วยลักษณะของวัสดุที่มีรูพรุน ทำให้อิฐชนิดนี้ดูดซับน้ำซึ่งจะมีผลต่อความชื้น จึงไม่นิยมใช้ในงานห้องน้ำหรือห้องครัว