ยาแนวมีกี่แบบและต่างกันอย่างไร?

0
251

การสร้างบ้าน หรืออาคารนั้น เรื่องของโครงสร้างเป็นเรื่องที่สำคัญ ตั้งแต่หลังคาจนลงมาถึงพื้น ทุกส่วนประกอบล้วนมีหน้าที่และมีความสำคัญไม่แพ้กันและยาแนวก็เช่นกัน ถ้าเลือกใช้ผิดประเภทก็สามารถทำให้มีผลเสียตามมาในภายหลังได้ และวันนี้แอดจะพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกันค่ะ

ยาแนว

ยาแนวคืออะไร?

ยาแนว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากาว คือ ตัวช่วยสำคัญที่ทำหน้าที่คู่ไปกับกระเบื้อง ซึ่งช่วยทำพื้นบ้านหรืออาคารดูเรียบร้อยสะอาด โดยในปัจจุบันกาว มีสีให้เลือกมากมายหลายเฉดสี เพื่อให้สามารถกลมกลืนไปกับกระเบื้อง ยกระดับบ้าน หรืออาคารให้ดูสวยงามมีคุณค่ามีราคายิ่งขึ้น นอกจากเรื่องความสวยงามแล้วกาวยังมีความยืดหยุ่นสูง จึงสามารถรองรับการยืดหดตัวของกระเบื้องได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับพื้นบ้านหรืออาคารได้อีกด้วย  ซึ่งการใช้งานนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดควรใช้ร่วมกับ ปูนกาว หรือกาวซีเมนต์สำหรับปูกระเบื้อง

กาวยาแนวมีกี่ประเภท?

  1. ซิลิโคน เป็นกาวที่มีความยืดหยุ่นสูงถึง 25% เป็นสารประกอบอนินทรีย์ สามารถใช้งานได้หลากหลาย และทนรังสียูวี จึงใช้ภายนอกอาคารได้ มีแรงยึดเกาะสูง ใช้ยึดระหว่างอะลูมิเนียมกับกระจกได้ดี ซิลิโคนแบบมีกรด จะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว แห้งเร็ว แต่ใช้ยาแนวโลหะ และหินธรรมชาติไม่ได้ ต้องใช้แบบไม่มีกรด ซึ่งยืดหยุ่นกว่า และไม่มีกลิ่นรบกวน แต่มีข้อเสีย คือ แห้งช้า แข็งแรงน้อยกว่า และมีราคาแพงกว่าประเภทมีกรด
  1. อะคริลิค เป็นกาวที่มีความยืดหยุ่นเพียง 5% ซึ่งทำมาจากวัสดุกลุ่มไฮโดรคาร์บอน มีน้ำเป็นตัวทำละลาย แต่เมื่อแข็งตัวแล้วจะไม่ละลายน้ำ ข้อดี คือ ปิดรอยขัดตกแต่งผิวงานและทาสีทับได้ ราคาถูกกว่าชนิดอื่น ๆ ข้อเสีย คือ ยืดหยุ่นน้อย รับแรงได้น้อย เนื่องจากมีน้ำเป็นตัวทำละลาย จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้ในพื้นที่เปียก
  1. โพลียูริเทน หรือที่เรามักเรียกกันว่า พียู มีความยืดหยุ่น 35% มีความแข็งแรง ทนทาน แห้งแล้วไม่หดตัว ทาสีทับได้ทนแสงยูวีได้ระดับหนึ่ง จึงใช้ได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคารใช้ยาแนวรอยต่อระหว่างโครงสร้างของอาคาร ปิดรอยต่อเมทัลชีท, แผ่นพรีคาสท์คอนกรีต, ไม้, อะลูมิเนียม, เหล็ก, กระจก และโพลีคาร์บอเนต
  2. โมดิฟายซิลิโคน หรือไฮบริด ถูกผลิตขึ้นโดยรวมคุณสมบัติที่ดีของพียูกับซิลิโคนไว้ด้วยกัน คือ ยืดหยุ่นตัวสูงป้องกันรังสียูวีได้เหมือนซิลิโคน แต่ทาสีทับได้เหมือนพียู โดยใช้งานในพื้นที่เปียกชื้นได้มีความยึดเกาะสูง และใช้ได้กับวัสดุเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นปูน, คอนกรีต, โลหะ, หินธรรมชาติ, สเตนเลส, อะลูมิเนียม, พีวีซี ไม้, ไฟเบอร์ซีเมนต์ และโพลีสไตรีน ไม่มีกรดที่เป็นอันตราย  สาระดีๆจาก เว็บนายช่าง – หนึ่งเดียวเรื่องช่าง ต้องเว็บนายช่าง