เพื่อน ๆ เคยได้ยินเสาเข็มเยื้องศูนย์กันบ้างไหมคะ? และทำไมเขาถึงเรียกกันแบบนี้ และเสาเข็มหนีศูนย์ทำหน้าที่อะไรและอันตรายไหม? วันนี้แอดจะพาเพื่อนมาทำความรู้จักอย่างละเอียดกันค่ะ อย่ารอช้าตามเว็บนายช่าง – หนึ่งเดียวเรื่องช่าง ต้องเว็บนายช่าง ไปดูกันเลยค่ะ

เสาเข็มเยื้องศูนย์คืออะไร?

คือ การที่เราตอกเสาเข็มหลุดตำแหน่งหมุดหมายเสาเข็มที่ทำไว้ ซึ่งสาเหตุอาจจะเกิดจากการทำหมุดหมายไม่ชัดเจนหรือขณะที่ตอกเสาเข็มไม่มีการตรวจสอบหมุดหมายก่อน ไม่เช็คศูนย์เข็มให้ดี ซึ่งทุกครั้งก่อนตอกเสาเข็มเพื่อป้องการความผิดพลาดทำให้เกิดเสาเข็มเยื้องศูนย์ ผู้ควบคุมงานต้องตรวจสอบก่อนทุกครั้งและทุกต้นก่อนตอก เพราะถ้าเกิดตอกแล้วมีปัญหาเสาเข็มเยื้องศูนย์ จะต้องทำการแก้นอกจากเสียเวลาแล้ว อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เช่น อาจจะต้องตอกเสาเข็มเพิ่มเข้าไปในบริเวณหลุมที่เยื้องศูนย์ หรือ อาจต้องแก้ไขออกแบบฐานรากใหม่ เป็นต้น
ชั้นดินสำคัญแค่ไหน?
ดินเหนียวอ่อนโดยทั่วไปเป็นดินที่ตกตะกอนอยู่บริเวณปากแม่น้ำ โดยลักษณะการเกิดของดินเหนียวอ่อนบริเวณนี้เม็ดดินจะถูกพัดพาจากแม่น้ำลงสู่ทะเลและน้ำทะเลก็หนุนกลับเข้ามาตกตะกอน ทําให้ชั้นดินเหนียวอ่อนนั้นมีทั้งแบบตกตะกอนในแม่น้ำและในทะเล ซึ่งเป็นลักษณะการเกิดของดินเหนียวอ่อนบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาตอนล่างหรือที่เรียกว่าดินเหนียวกรุงเทพ โดยมีลักษณะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนหนาประมาณ 10 – 15 เมตร ชั้นถัดไปจะเป็นชั้นดินเหนียวแข็งและชั้นทรายสลับกันไป
- ชั้น Crust มีความลึกประมาณ 0 – 2 เมตร และดินเหนียวชั้น Crust เป็นดิน เหนียวชั้นบนสุด ที่มีการแปรสภาพของดินจากกระบวนการ Weathering leaching และ cementation ทำให้คุณสมบัติของดินเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีค่าความชื้นในดินลดลงและทำให้กำลังสูงขึ้น
- ถัดลงไปจะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนมาก โดยจะมีความลึกประมาณ 7 – 15 เมตร
- ชั้นถัดลงไปจะเป็น ชั้นดินเหนียวแข็ง จะมีความลึกประมาณ 15 – 24 เมตร เป็นต้น
การตอกเสาเข็มเพื่อทำฐานราก บนชั้นดินเหนี่ยวอ่อนบริเวณกรุงเทพและปริมณฑล (Bangkok Clay) ถ้าเป็นบ้านและอาคารทั่วไป ค่าเฉลี่ยความลึกจะอยู่ที่ 21 เมตร เนื่องจากการจะทำเสาเข็มท่อนเดียวให้มีความยาว 21 เมตรนั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก ดังนั้นจึงเปลี่ยนมาทำเสาเข็มออกเป็นท่อนสั้น ๆ แล้วนำมาเชื่อมต่อกันโดยการเชื่อมเหล็กรัดปลอกเสา
เสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์จะถูกผลิตให้มีความยาวท่อนละ 1.5 เมตร เพื่อให้สามารถเข้าทำงานในที่แคบและมีความสูงจำกัดได้ ส่วนการจะเช็คว่าเสาเข็มที่ตอกไปมีความลึกจนถึงระดับที่สามารถรับน้ำหนักของตัวโครงสร้างอาคารหรือยัง จะใช้วิธีที่เรียกกันว่า Last 10 Blow