แก้ปัญหาเรื่องเสียงรบกวน ใช้ผนังกันเสียงแบบไหนดี?

0
158

เคล็ดลับง่าย ๆ กับการแก้ปัญหาเสียงรบกวนด้วยผนังกันเสียง เป็นปัญหาที่ทุกบ้านมักจะพบเจออยู่บ่อยครั้ง กับปัญหาเรื่องเสียงรบกวนที่ทำให้เรานอนหลับพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ซึ่งวันนี้แอดก็มีเคล็ดลับง่าย ๆ มาบอกต่อกันค่ะ อย่ารอช้าตามพวกเราเว็บนายช่าง – หนึ่งเดียวเรื่องช่าง ต้องเว็บนายช่างไปดูกันเลยค่ะ

ผนังกันเสียง

1.อิฐมอญ

อิฐมอญ หรือเรียกอีกชื่อว่า “อิฐแดง” โดยมีต้นกำเนิดมาจากชาวมอญที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เมื่อเข้ามาตั้งรกรากใหม่ จึงต้องทำการสร้างบ้านเรือน ชาวมอญจึงใช้ฝีมือที่มีตั้งแต่เดิม ทำอิฐมอญเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย ต่อมาจึงถูกยึดเป็นอาชีพทำอิฐมอญขายในที่สุด ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างแบบธรรมชาติที่ใช้กันมาแต่โบราณ โดยเกิดจากการนำดินเหนียวมาผสมกับแกลบ หรืออาจจะใช้วัสดุอื่นแทน แล้วนำไปเผาให้สุก อิฐมอญมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องความแข็งแรงมากที่สุด

ข้อดีอิฐมอญ

  • แข็งแรง ทนทานกว่าอิฐมวลเบา
  • ทนทานกับสภาพอากาศในเมืองไทยเป็นอย่างดี
  • ราคาถูกกว่าอิฐมวลเบาและผนังสำเร็จรูป

ข้อเสียอิฐมอญ

  • สะสมและถ่ายเทความร้อน ทำให้บ้านร้อน ทางแก้ คือ ก่ออิฐมอญแบบ 2 ชั้นเพื่อลดการถ่ายเทความร้อนและกันไฟได้ดีกว่าอิฐมวลเบาเล็กน้อย 
  • เป็นฉนวนกันเสียงได้ดี แต่น้อยกว่าอิฐมวลเบาประมาณ 20%
  • หากช่างไม่ชำนาญงานฉาบปูนบนผนังอิฐประเภทนี้ ก็อาจมีผลให้เกิดรอยร้าวบนผนังได้
  • ใช้เวลาในการก่อสร้างนาน จึงทำให้มีค่าแรงสูง

2.ผนังเบา

ผนังเบา คือ ผนังที่ก่อสร้างโดยการติดตั้งวัสดุแผ่นใหญ่เข้ากับโครงคร่าว และยังมีน้ำหนักน้อยกว่าผนังก่ออิฐหรือผนังคอนกรีตเสริมเหล็กจึงเรียกชื่อว่า “ผนังเบา” โดยวัสดุแผ่นใหญ่ที่นิยมใช้ทำผนังเบา ได้แก่ แผ่นยิปซัม ไม้อัด แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ แผ่นไม้อัดซีเมนต์ แผ่นเซลโลกรีต เป็นต้น

ข้อดีของผนังเบา

  • ติดตั้งสะดวกรวดเร็ว สามารถติดตั้งได้อย่ารดเร็วเพราะมีน้ำหนักที่เบาง่ายต่อการขนย้าย และยังรื้อถอนง่ายอีกด้วย 
  • ผนังมีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการขนย้าย
  • ติดตั้งวางระบบไฟและน้ำได้ง่าย เพราะมีพื้นที่ว่างข้างหลังจึงสามารถเดินสายไฟได้อย่างง่ายดาย
  • กันความร้อน และเสียงได้ดี

ข้อเสียของผนังเบา

  • ผนังเบาแขวนของหนักมากไม่ได้ เพราะผนังมีความบางถ้าแขวนของหนัก ๆ อาจจะทำให้ผนังร้าวได้ แต่ถ้าหากต้องการแขวนของหนัก ๆ ก็สามารถใส่โครงคร่าวระหว่างก่อสร้างได้แต่ต้องระบุจุดให้ชัดเจนเพื่อป้องกันความผิดพลาด
  • รอยต่อแผ่นผนัง เป็นจุดที่เกิดการแตกร้าว และรั่วซึมมากที่สุด
  • ความแข็งแรง ไม่เท่ากับผนังก่ออิฐ