แผ่นยิปซั่มคืออะไร?

0
246

เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่คะว่า “แผ่นยิปซั่ม” คืออะไร? วันนี้แอดจะพามาทำความรู้จักกันอย่างละเอียดค่ะว่าคืออะไร เอาไว้ใช้ทำอะไร และมันคือส่วนไหนของตัวบ้าน ถ้าเพื่อน ๆ อยากรู้กันแล้วตามพวกเราเว็บนายช่าง – หนึ่งเดียวเรื่องช่าง ต้องเว็บนายช่าง ไปดูกันเลยค่ะ

แผ่นยิปซั่ม

แผ่นยิปซั่มคืออะไร?

หลาย ๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับยิปซั่มบอร์ด หรือ “แผ่นยิปซั่ม” กันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะกับการสร้างบ้านหรือตกแต่งบ้านจะเห็นได้ว่าหลาย ๆ บ้านเลือกเข้ามาใช้ในบ้านด้วยแต่ยังไม่รู้ว่าคุณสมบัติเป็นอย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยม จะพาไปรู้จักแผ่นยิปซั่มกันค่ะ เผื่อท่านใดที่อยากจะเอาไปใช้งานจะได้เลือกใช้ได้ถูกต้อง โดยแผ่นปูนยิปซั่มคือแผ่นที่มีกระดาษเหนียวผิวเรียบ หรือวัสดุผิวเรียบหุ้มทั้งสองด้าน และอาจจะมีวัสดุเพิ่มคุณภาพ เคลือบผิวด้านใดด้านหนึ่งหรืออาจจะทั้งสองด้าน โดยที่แผ่นปูนยิปซั่มตัน หรือพรุน อาจผสมด้วยเส้นใย หรือวัสดุเพิ่มคุณภาพอื่น ๆ ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

แผ่นยิปซั่มมีกี่ชนิด

มีอยู่ทั้งหมด 5 ชนิดด้วยกัน ดังนี้

  1. ชนิดทั่วไป คือ แผ่นปูนยิปซั่มบอร์ดที่ไม่มีการใส่วัสดุเพิ่มคุณภาพ หรือเส้นใย เข้าไปในปูนยิปซั่ม เหมาะสำหรับใช้กับห้องนอน, ห้องนั่งเล่น, ฝ้าเพดาน และผนังภายใน เป็นต้น
  2. ชนิดทนความร้อน คือ แผ่นปูนยิปซั่มที่ติดแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ด้านหลัง เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันการส่งผ่านความร้อน ซึ่งสามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึงร้อยละ 95 เหมาะสำหรับห้องที่ติดกับหลังคา หรือห้องใต้ชั้นดาดฟ้า ห้องนอน และผนังที่โดนแดดโดยตรง
  3. ชนิดทนไฟ คือ แผ่นปูนยิปซั่มที่มีการเพิ่มส่วนผสมของเส้นใยชนิดพิเศษ และสารทนไฟ เช่น ไฟเบอร์กลาสเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ทนไฟได้นาน 1-4 ชั่วโมง เหมาะสำหรับฝ้าเพดานห้องครัว, ผนังอาคารสูง, ทางหนีไฟ, ช่องลิฟต์ หรือโครงสร้างเหล็ก
  4. ชนิดกันชื้น คือ แผ่นปูนยิปซั่มที่ผสมสารป้องกันการดูดความชื้นเข้าไปในเนื้อยิปซั่ม เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการทนความชื้น จึงเหมาะสำหรับงานฝ้าเพดานใน, ห้องน้ำ, ห้องครัว รวมไปถึงพื้นที่ภายนอก เป็นต้น
  5. ชนิดกันเสียงสะท้อน คือ แผ่นปูนยิปซั่มที่ได้มีการฉลุลวดลายต่าง ๆ ลงที่ตัวแผ่นทั้งรูวงกลม รูสี่เหลี่ยม และลายเส้นบุด้วยแผ่นกลาสแมท (Glass Matt) ด้านหลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับเสียง ลดเสียงสะท้อนและเสียงก้องได้ จึงทำให้เหมาะกับห้องโฮมเธียเตอร์, ห้องประชุม – สัมมนา หรือห้องทำงาน ตลอดจนพื้นที่มีขนาดใหญ่ในตัวอาคารที่เกิดเสียงก้องได้ง่าย เช่น ห้างสรรพสินค้า, สนามบิน เป็นต้น