
10 ประเภทหลังคาบ้าน เลือกให้เหมาะชีวิตเป็นสุข
หลังคาบ้านเป็นองค์ประกอบสำคัญสูงสุดของบ้านเลยก็ว่าได้ เพราะการทำบ้านวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อกันแดด หลบฝน ทนหนาวได้ แต่นอกจากจะทำตามหน้าที่หลักแล้วยังมีไว้เพื่อความสวยงาม โอ่อ่าของตัวบ้าน และการวางแแผนบำรุงรักษาระยะยาวด้วย เรามาทำความรู้จักรูปแบบหลังคาที่นิยมกันในปัจจุบันเพื่อจะได้เลือกแบบบ้านได้เหมาะสมเพื่อชีวิตคนในบ้านจะได้อยู่เป็นสุข

- หลังคาทรงจั่ว หรือ Gable roof เป็นทรงที่นิยมมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้โดยมีข้อดีคือ ระบายอากาศภายในบ้านได้ดี ทำรางน้ำฝนได้ง่าย นอกจากนี้ยังสามารถหาวัสดุสำหรับหลังคาได้ง่าย ราคาส่วนใหญ่ก็ราคาถูก ส่วนข้อเสียคือการระบายน้ำฝนและมีแรงต้านลมมากขึ้นเมื่อฐานของจั่วกว้างเกินไป รวมทั้งหากอยากได้บ้านที่มีรูปทรงโดดเด่นทางเลือกหลังคาทรงหน้าจั่วก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก เพราะบ้านส่วนใหญ่ก็ใช้ทรงนี้ แม้กระทั่งตอนเด็กๆ เรายังวาดรูปบ้านทรงนี้เลย

- หลังคาแบบฮิป (Hip) หรือจั่วประกอบ 4 ด้าน เป็นรูปแบบหลังคาที่มาแก้ไขจุดอ่อนของหลังคาแบบหน้าจั่ว เพราะทำให้ลดแรงปะทะของลมได้มากขึ้น เหมาะกับพื้นที่ที่มีลมแรงหรือมีมรสุมพัดผ่านเป็นประจำ นอกจากนี้ยังสามารถกระจายน้ำหนักของน้ำฝนออกไปทุกทิศทุกทางได้ ส่วนข้อเสียคือไม่นิยมสร้างช่องระบายอากาศ ทำให้การระบายอากาศใต้หลังคาน้อยลง

- หลังคาหน้าจั่ว ทรงดัชต์ (Dutch roof) เป็นการผสมผสานหลังคาหน้าจั่วเข้ากันกับหลังคาแบบฮิป (Hip) มีข้อดีคือสามารถเพิ่มพื้นที่ห้องใต้หลังคาได้ด้วย เหมาะกับคนที่ชื่อชอบห้องใต้หลังคา และทำให้บ้านมีความโดดเด่นขึ้นมามากเลยทีเดียว นอกจากจะระบายอากาศได้ดีขึ้น ยังเพิ่มแสงสว่างให้กับตัวบ้านได้มากขึ้น เพราะส่วนของหลังคาที่สูงขึ้นนั่นเอง แน่นนอนในข้อดีย่อยกลายเป็นข้อเสียได้ด้วย การเพิ่มขึ้นของส่วนห้องใต้หลังคา ความสูงของหลัง ราคาที่ต้องจ่ายย่อมมากขึ้นนั่นเอง การบำรุงรักษาก็ย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วย

- หลังคารูปทรงตัวเอ็ม (M Shaped roof) เป็นการผสมหลังคาหน้าจั่วเข้าไปเพื่อเพิ่มความโดดเด่นแต่ยังคงรักษาความเรียบง่ายในการบำรุงรักษา การก่อสร้าง รวมทั้งวัสดุที่ใช้ด้วย การเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างกันยังเพิ่มความสวยงามได้มากขึ้น

- หลังคาแบบเพิง หรือที่บ้านเรานิยมเรียกว่าเพิงหมาแหงน ดูจากลักษณะคงจะเดาได้ว่่าเป็นรูปแบบหลังคาที่ออกแบบมาเพื่อความเรียบง่าย การก่อสร้างที่ไม่ซับซ้อนมาก ต้องการความรวดเร็วในการก่อสร้าง การลาดชันทางเดียวของเพิงทำให้นำ้ไหลได้ดี ลดการตกค้างของน้ำได้ดี และรวมน้ำเพื่อกักเก็บไว้ได้ด้วย แต่ทั้งนี้ก็ไม่เหมาะกับการทำในโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่เพราะฐานต้องแข็งแรงมาก เพื่อรับแรงลมที่สามารถเข้าไปได้ใต้ฐานของหลังคา หากลมมาแรงหลังคาอาจจะลอยออกจากฐานได้ง่าย

- หลังคาแบบแฟลต (Flat roof) เป็นหลังคาที่แบบราบอาจจะเป็นบ้านหรืออาคารสูงๆ จุดประสงค์หลักของรูปแบบหลังคานี้เพื่อเพิ่มพื้นที่ภายในอาคารให้ดูโล่ง โปร่ง ดูมีพื้นทีใช้สอยมากขึ้นนั่นเอง แต่ทั้งนี้ก็ต้องแลกมาด้วยกับความเสี่ยงที่จะมีรอยรั่วซึมของน้ำ การตกค้างของน้ำได้ ดังนั้นการดูแลรักษาก็ต้องหมั่นทำเป็นประจำสม่ำเสมอด้วยช่างผู้ชำนาญการ

- หลังแบบหลังคาซ้อนหลังคา (Mansard roof) เป็นสถาปัตยกรรมจากฝรั่งเศสที่เปิดไว้สำหรับการขยายพื้นที่ชั้นบนไปเรื่อยๆ ได้ และเพื่อความสวยงาม โดดเด่นของผู้อยู่อาศัย และดูหรูหรา นอกจากนั้นยังทำให้รู้สึกว่าผู้อยู่อาศัยแต่ละชั้นได้สัมผัสของบ้านที่มีหลังคา แน่นนอนว่ารูปแบบมีความซับซ้อนการติดตั้งย่อมใช้ช่างผู้ชำนาญงาน ค่าใช้จ่ายก็จะตามมา นอกจากนั้นทุกๆ การต่อเติมขึ้นไปชั้นบนย่อมมีข้อผูกพันทางกฎหมายเข้าไปเกี่ยวด้วย

- หลังคาแบบ Dormer เป็นการออกแบบที่ค่อนข้างเพิ่มความซับซ้อนของหลังคาเพื่อให้ใช้ห้องใต้หลังคาได้แบบฟินมากขึ้น อารมณ์ของการใช้ห้องใต้หลังคาได้อย่างลงตัวและเพิ่มความโดดเด่นของบ้าน แต่ดูเหมือนว่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมไปด้วยในหลายมิติ ทั้งต้องเลือกช่างที่มีประสบการณ์ไม่อย่างนั้นแล้วหลังคาอาจจะเกิดรอยรั่วตามมา ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาก็เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น

- หลังคาแบบโรงนา (Gambrel roof) กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศไทยสำหรับการสร้างเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งรากาแฟ-คาเฟ่ เพราะนอกจากจะเพิ่มพื้นที่ของอาคารให้โอ่อ่า กว้าง สว่างแล้ว ยังมีใช้วัสดุในการก่อสร้างน้อยลง มีความซับซ้อนน้อยลง แต่ยังคงความโดดเด่นไว้

- หลังคาแบบกล่องเกลือ (Saltbox roof) เป็นการปรับหลังคาทรงหน้าจั่วให้มีลูกเล่นมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อกันเส้นทางแสงและมรสุมในด้านนั้น เพราะการสร้างทางลาดยาวขึ้นอีกด้านเพื่อตอบโจทย์ของผู้อยู่อาศัยที่ต้องการปิดการรับแสงของด้านใด ลดการสูญเสียแสงในด้านที่เราต้องการใช้มากขึ้น เช่น เราชอบนอนตอนเช้าอาจจะให้หลังลาดเอียดไปด้านตะวันออกมากขึ้น เพื่อลดแสงในยามเช้านั่นเอง
การเลือกแบบหลังคาก็ควรคำนึกถึงหลายๆ ปัจจัย ทั้งนี้ก็เพื่อความสบายใจของผู้อยู่อาศัย เพราะบ้านคือสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับทุกคน
แหล่งข้อมูล