ปัญหาหลัก ๆ ที่ชาวไทยอย่างเรามักจะพบเจออยู่ตลอดทั้งปี คือความร้อนที่มาจากหลังคาบ้านส่งลงมายังตัวบ้าน ทำให้เวลาที่เราพักผ่อนจึงทำให้มีอากาศที่ร้อนอบอ้าว บางบ้านคลายร้อนด้วยวิธีการเปิดแอร์ทำให้ค่าไฟในแต่ละเดือนแพงหูฉีก ซึ่งวันนี้แอดก็มีวิธีแก้ไขความร้อนจากหลังคามาแนะนำให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำกันดูค่ะ

Table of Contents
วิธีแก้ความร้อนใต้หลังคาบ้าน
การแก้ความร้อนมีอยู่หลากหลายวิธีให้ได้ลองเลือกทำกันดู ซึ่งวิธีที่แอดจะนำมาแนะนำก็มีดังนี้ค่ะ
1.ฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันความร้อน คือ วัสดุที่ใช้มุงใต้หลังคาเพื่อกันความร้อนไม่ให้ส่งผ่านจากหลังคาบ้านไปยังตัวบ้าน ฉนวนกันความร้อนที่ดีจะทำหน้าที่ต้านทานหรือป้องกันไม่ให้พลังงานความร้อนส่งผ่านไปยังภายในบ้าน หรือเรีอกง่าย ๆ ว่าวัสดุที่ความร้อนนั่นเองค่ะ
2.หลังคาบ้านกระเบื้องคอนกรีต

คือ กระเบื้องหลังคาอีกประเภทหนึ่งที่คนไทยชอบใช้และเห็นได้ง่ายทั่วไปในหมู่บ้านจัดสรรค์และบ้านในโครงการต่าง ๆ ซึ่งทำมาจากคอนกรีตอัดเป็นรูปลอนโค้ง ดูเรียบง่ายกันความร้อนได้พอสมควร และยังระบายน้ำฝนได้ดี มีความแข็งแรงและสวยงาม แต่ก็มีน้ำหนักมาก จึงเป็นหลังคาที่มีความหนามากพอสมควร ดังนั้นบ้านเราในปัจจุบันจึงนิยมใช้หลังคากระเบื้องคอนกรีตเพื่อบันเทาความร้อนที่ส่งมาจากหลังคาลงมาภายในตัวบ้าน
3.หลังคาบ้านเมทัลชีท

คือ แผ่นเหล็กรีดเป็นลอนโลหะผสมระหว่างอลูมิเนียมและสังกะสี เหมาะสำหรับทั้งงานภายในและภายนอก งานผนัง งานหลังคาและงานรั้ว คุณสมบัติเด่นชัดของเมทัลชีทคือสามารถสั่งผลิตตามขนาดความยาวของหลังคาได้ตามที่เราต้องการ จึงทำให้เกิดรอยต่อของแผ่นหลังคาน้อย ปัญหารั่วซึมจึงน้อยกว่าหลังคากระเบื้องทั่วไป และนอกจากนี้ยังช่วยให้การติดตั้งหลังคาสามารถดำเนินการได้ไว เพราะมีน้ำหนักเบา จึงช่วยลดต้นทุนค่าแรงก่อสร้างและค่าโครงสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันแผ่นเมทัลชีทมีให้เลือกหลายรุ่น หลายเกรด การนำมาใช้ร่วมกับบ้านจึงจำเป็นต้องกำหนดสเป็คให้เหมาะสมแต่ละส่วนของบ้าน ในบางรุ่นอาจจะมีฉนวนกันร้อนด้วยหลังคาเมทัลชีทจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของคนเราในปัจจุบัน
ข้อดีของการใช้วัสดุที่กันความร้อน
- ลดเสียงดังช่วยกั้นเสียงที่ดังจากภายนอกเข้ามาภายในบ้านได้เป็นอย่างดี
- ทนไฟและไม่ก่อให้เกิดการลุกลามของไฟ
- น้ำหนักเบา มีความแข็งแรง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
- ช่วยประหยัดค่าไฟ เพราะการที่เราใช้วัสดุที่กันความร้อนทำให้เราใช้ไฟฟ้าที่ช่วยคลายความร้อนน้อยลง จึงทำให้เราประหยัดค่าไฟลงไปเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว