การเลือกใช้ประตูห้องน้ำใช่ว่าจะเลือกได้ตามใจ เพราะประตูแต่ละชนิดมีคุณสมบัตรที่แตกต่างกันไป ซึ่งการใช้ประตูที่จะนำมาติดตั้งในห้องน้ำได้ ก็ต้องเลือกให้ดี เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดการบวมพอง หรือพังได้ โดยวันนี้แอดได้ทำการสรุปประตูแต่ละยี่ห้อมาให้เพื่อน ๆ ได้ลองเลือกดูว่าแบบไหนจะถูกใจที่สุด อย่ารอช้าตามแอดไปดูกันเลยค่ะ…

Table of Contents
วิธีเลือกประตูห้องน้ำ
แน่นอนค่ะว่าการเลือกใช้ประตูห้องน้ำต้องเลือกที่เป็นพีวีซี(PVC) เพราะพีวีซี(PVC) ทำขึ้นจากโพลิไวนิลคลอไรด์ โดยไม่ผสมพลาสติกไซเซอร์ จึงเป็นวัสดุที่กันน้ำกันชื้น กันปลวกและแมลงต่าง ๆ ได้เป็นย่างดี จึงเหมาะจะทำเป็นประตูห้องน้ำมากที่สุด
ประตูห้องน้ำมีกี่ชนิด?
ประตูที่ทำจากพีวีซี(PVC) มีอยู่หลัก ๆ 3 ชนิดคือ
1.ประตูพีวีซี(PVC)

คือ ประตูชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ทดแทนวัสดุไม้ หรือกึ่งไม้ ทั้งนี้ประตูพีวีซี(PVC) มีคุณสมบัติที่ไม่ผุกร่อน ไม่บวมน้ำ และปลอดภัยจากปลวก หรือแมลงชนิดต่าง ๆ โดยมีความหนาขนาด 1.5 นิ้ว แข็งแรงทนทาน เนื้อวัสดุหนา 1.5 มิลิเมตร มีการเคลือบ UV ทั้งบาน และขอบบนทนต่อการผุกร่อน โดยประตูพีวีซีมีโครงด้านในที่ผลิตจากวัสดุประเภทเหล็ก หรืออลูมิเนียม ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัทผู้ผลิต และปิดทับหน้าด้วยแผ่นประตูพีวีซี ซึ่งสามารถทำความสะอาดได้ง่าย
2.ประตูยูพีวีซี(UPVC)
เป็นอีกหนึ่งในประตูที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากความแข็งแรง ความทนทาน ราคาไม่สูงมาก และมีรูปแบบให้เลือกหลากหลาย ซึ่งเป็นประตูที่ผลิตจาก UPVC ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่ผลิตขึ้นด้วยนวัตกรรมใหม่ด้วยการเติมสารเคมีชนิดอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้วัสดุแข็งแรงทนทาน ทนต่อสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ต่างจาก PVC ธรรมดาที่แตกหักและผุพังได้ง่าย ดังนั้นจึงหมดกังวลเรื่องวัสดุโก่งตัว บวม หรือเสียหายเหมือนกับวัสดุอื่น ๆ
3.ABS
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน (acrylonitrile-butadiene-styrene) ซึ่งเป็นเทอร์โมพลาสติกชนิดหนึ่ง โดยจะมีคุณสมบัติเป็นพลาสติกทั่วไปแข็ง แต่เปราะและแตกหักง่าย ๆ หรือถ้ามีลักษณะแข็งเหนียวก็จะมีลักษณะอ่อนนิ่มไม่อยู่ทรง แต่พลาสติก abs จะแตกต่างจากพลาสติกทั่วไปเพราะเป็นพลาสติกที่มีความสมดุลทั้งในเรื่องความแข็งแรงและความเหนียว สามารถคงสภาพของรูปร่างได้เป็นอย่างดี ทำให้มีคุณสมบัติทนทานต่อแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังทนต่อการเสียดสี ความร้อน และสารเคมีได้ดีกว่าแบบพลาสติกธรรมดา จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ทำเป็นประตูห้องน้ำ