8 ข้อดีและข้อเสีย ของผนังเบา

0
446

ผนังที่คนไทยในปัจจุบันนิยมใช้มากที่สุดก็คือ “ผนังเบา” ซึ่งมีน้ำหนักเบาคุณสมบัติมากมายเกินจะบรรยาย และวันนี้แอดจะพาเพื่อน ๆ ปดูทั้งข้อและข้อเสีย เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้ลองเอาไปตัดสินใจกันดูค่ะ

ผนังเบา

ผนังเบาคืออะไร?

คือ ผนังที่ก่อสร้างด้วยการติดตั้งวัสดุแผ่นใหญ่เข้ากับโครงสร้าง ทำให้มีน้ำหนักน้อยกว่าผนังอิฐหรือผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก จึงชื่อเรียกว่า “ผนังเบา” สำหรับวัสดุแผ่นใหญ่ที่นิยมใช้ทำผนังชนิดนี้ ได้แก่ ไม้อัด แผ่นยิปซัม แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ แผ่นไม้อัดซีเมนต์ และแผ่นเซลโลกรีต ส่วนวัสดุที่ใช้ทำโครงคร่าว ได้แก่ โครงเหล็กรูปพรรณ โครงเหล็กกัลวาไนซ์ โครงไม้เนื้อแข็ง โดยการติดตั้งจะใช้ตะปูหรือตะปูเกลียวเป็นตัวยึดวัสดุแผ่นใหญ่เข้ากับโครง หลังจากนั้นจึงเก็บรอยต่อระหว่างวัสดุแผ่น เช่น แผ่นยิปซั่มจะใช้ผ้าฉาบ (เทปผ้าฉาบ) กับปูนฉาบรอยต่อ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์จะใช้กาวโพลียูรีเทน (PU) อุดรอยต่อ เป็นต้น หรือหากต้องการโชว์แนวรอยต่อระหว่างแผ่น ก็สามารถเลือกเว้นร่อง ระหว่างแผ่น หรือติดตั้งคิ้วโลหะสำหรับตกแต่งรอยต่อ ซึ่งสามารถสร้างสรรค์แพทเทิร์นต่างๆ ได้ 

ข้อดีของผนังเบา

  1. น้ำหนักเบา ผนังเบามีน้ำหนักที่เบามาก ๆ ถ้าเทียบกับอิฐมวลเบา และอิฐมอญ สามารถติดตั้งได้โดยที่ไม่มีฐานรองรับเหมือนผนังอิฐทั่วไป
  2. ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยในเรื่องประหยัดเงินค่าแรงของช่างในการติดตั้ง ประหยัดเวลาในการติดตั้ง และนอกจากนี้ถ้าต้องการรื้อถอนยังช่วยประหยัดเวลาในการรื้อถอนอีกด้วย
  3. เหมาะสำหรับกั้นแบ่งห้องและต่อเติมบ้าน เพราะผนังมวลเบามีน้ำหนักที่เบาและแข็งแรงมาก ๆ จึงเหมาะนำมาทำเป็นผนังกั้นห้องต่าง ๆ
  4. ติดตั้งระบบไฟและน้ำได้ง่าย เพราะผนังมวลเบาเวลาที่ติดตั้งจะมีช่องว่างระหว่างกำแพง จึงสามารถซ่อนสายไฟไว้ในช่องนั้นได้ ไม่ต้องมาติดแปะเหมือนพื้นอิฐธรรมดาทำให้ผนังมวลเบาจึงดูสวยงาม
  5. ตกแต่งพื้นผิวได้ ทั้งนี้ยังสามารถ ทาสีทับ ปูกระเบื้อง หรือติดวอลเปเปอร์ได้อย่างง่ายดาย

ข้อเสียของผนังเบา

  1. ความแข็งแรงสู้ผนังก่ออิฐไม่ได้ เพราะมีขนาดที่บางและเบากว่าผนังก่ออิฐจึงทำให้มีความแข็งสู้ผนังอิฐได้
  2. แขวนของหนัก ๆ มากไม่ได้ เวลาที่เราต้องการที่จะแขวนสิ่งของหนัก ๆ จึงไม่สามารถเจาะผนังและแขวนได้ นอกเสีจากว่าจุดไหนที่เราต้องการเจาะแขวนของหนัก ๆ เช่น ทีวี ตู้โชว์ ตู้เสื้อผ้า ฯลฯ เราต้องทำการติดตั้งโครงคร่าวไว้ตั้งต่ก่อนหน้า และต้องระบุจุดที่ต้องการใส่โครงคร่าวให้ชัดเจนเพื่อป้องกันความผิดพลาดและอันตรายที่จะเกิดในภายหลัง